สมดุลแร่ธาตุ ( Acid-Base Balance/ Saturation of the Solution in dental plaque/ biofilm )
ในเรื่องของภาวะ กรด - ด่าง ในของเหลวที่อยู่ในแผ่นคราบจุลินทรีย์ (Micro-environment) ที่เกาะอยู่บนผิวฟันนั้น ในภาวะอิ่มตัวน้อยจะทำให้เกิดการสูญเสียแร่ธาตุ (Demineralization) ออกจากผลึกโครงสร้างฟัน (Calcium Hydroxyapatite Crystals) และในภาวะอิ่มตัวเกินของของเหลวที่อยู่ในแผ่นคราบจุลินทรีย์นี้ จะทำให้เกิดการคืนกลับของแร่ธาตุ (Remineralization) สู่โครงสร้างฟัน กระบวนการต่างๆเหล่านี้เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา (Dynamic Equilibrium)
จากสมมติฐานก่อนล่าสุด "Ecological Plaque Hypothesis (EPH), 1994 Philip D. Marsh" ว่าด้วยกลไกการเกิดฟันผุ... แทนที่จะบอกว่าแบคทีเรียตัวนี้ เป็นตัวสร้างกรดแล้วทำให้ฟันผุ ก็บอกว่า มันไม่ได้ Specific ขนาดนั้น มันเป็น Non-specific Plaque Hypothesis ซึ่งบอกว่า "ฟันผุเกิดขึ้นจากผลรวมของการเปลี่ยนแปลง ของพวกเชื้อที่อยู่ใน Plaque ทั้งหมด คือ ทั้งหมดใน Dental Biofilm ต่างๆ ( Sessile Microbial Communities ) ไม่ใช่เฉพาะ จาก Strep. mutan( Pathogen ) และบอกว่า.. ที่รู้อย่างนี้เพราะว่า จากการวิจัย ดูแล้ว บนพื้นผิวของทั้งฟันผุและฟันที่ไม่ผุ ก็จะเจอพวกเชื้อโรคพวกนี้เหมือนกันหมด เพียงแต่ปริมาณต่างกันเท่านั้นเอง" ....ซึ่งในปัจจุบันมีสมมติฐานใหม่ที่พัฒนาต่อมาจากอันนี้ คือ “The Keystone-Pathogen Hypothesis” (KPH) (Hajishengallis et al., 2012). >> The KPH indicates that certain low-abundance microbial pathogens can cause inflammatory disease by increasing the quantity of the normal microbiota and by changing its composition. (Hajishengallis et al., 2012) << ....ซึ่งเทียบเคียงให้เห็นภาพได้ประมาณว่า ถ้าในช่องปากของเรานั้น เปรียบได้กับผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ โดยจะมีสิ่งมีชีวิตคีย์สโตน (Keystone Species) คือเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีอิทธิพลต่อสภาวะแวดล้อมที่อาศัยอยู่อย่างมาก ซึ่งในที่นี้คือเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อโรค ( Pathogens ) ถึงแม้ว่าบางครั้งจำนวนประชากรของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นอาจจะต่ำก็ตาม หากถ้าสิ่งมีชีวิตคีย์สโตนหายไปจากระบบนิเวศน์หนึ่งๆ ระบบนิเวศน์นั้นจะเสียดุลและพังทลายลง
ยกตัวอย่างเช่น เสือ ซึ่งเป็นผู้ควบคุมจำนวนประชากรสัตว์กินพืช หากเสือลดน้อยลงหรือไม่มีเลย เป็นเหตุให้จำนวนประชากรสัตว์กินพืชเพิ่มขึ้น ความต้องการด้านอาหารก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย และจะเกิดเป็นผลกระทบลูกโซ่เช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนเกิดความล้มเหลวในระบบนิเวศน์ เป็นเหตุให้เกิดการพังทลายลงนั่นเอง
สมดุลของการตอบสนองในระบบภูมิคุ้มกัน ( Homeostasis of Immunity and Innate Immunity )
ในบทบาทของเซลล์นิวโทรฟิลด์ ( Neutrophil ) เอ็นไซม์ เมดิเอเตอร์ ( Enzyme Mediators ) และเอ็นไซม์ อินฮิบิเตอร์ ( Enzyme Inhibitors ) จะต้องประสานงานกันอย่างสอดคล้อง กล่าวคือ เมื่อสวิทช์ถูกเปิด ( Enzyme Mediators ) กลไกการปกป้องสุขภาพในช่องปากโดยระบบภูมิคุ้มกันเริ่มทำงาน ในส่วนของสวิทช์ที่ทำหน้าที่ปิดนั้น ( Enzyme Inhibitors ) จะต้องสามารถทำงานได้ตามปกติ จนกว่าภาวะการรุกรานนั้นจะสามารถถูกควบคุมได้อย่างเบ็ดเสร็จ โดยระบบภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ ( Innate Immunity ) แต่ถ้าสวิทช์ที่ปิดนี้สูญเสียหน้าที่ไป จึงจำเป็นที่จะต้องมีบางสิ่งมาช่วยเสริม เพื่อเป็นการลดทอนความรุนแรงหรือลดทอนภาระของระบบภูมิคุ้มกันที่กำลังทำงาน
(Host Modulatory Therapy) ซึ่งมันทำหน้าที่มากจนเกินไป - ทำงานจนเกินพอดี
ในสมดุลที่ ๒ และ ๓ มีความเกี่ยวเนื่องและเกิดขึ้นคาบเกี่ยวกันกับภาวะพร่องในภูมิคุ้มกันเฉพาะที่ ( Innate Immunity ) หรือด้อยประสิทธิภาพ ในที่นี้คือ โปรตีนต้านจุลินทรีย์ - Antimicrobial peptides - AMPs ที่อยู่ในเยื่อบุผิวหรือเยื่อเมือกช่องปาก ( Oral mucosal barrier ) และน้ำลาย ( Hyposalivation - Xerostomia ) ซึ่งอาจจะได้รับผลกระทบมาจากความระคายเคืองต่อสารเคมี ( Oral mucosal barrier disruption ) หรือภาวะน้ำลายที่ผิดปกติในบางคน
โดยสภาวะของสมดุลทั้ง ๓ นี้ จะทำให้เกิดการคงสภาพอยู่ เพื่อให้ทำหน้าที่ได้อย่างปกติ ( Normal Function ) และมีประสิทธิภาพ
( Quality of Life-QOL ) จนกว่าจะเสื่อมสลายไปตามกาลเวลาของมันเอง ( Deteriorate with life Expectancy )
กระบวนการที่เกิดขึ้นต่างๆเหล่านี้ ถ้าสามารถทำให้เกิดขึ้นได้จริง ก็จะสามารถยับยั้งการเกิดฟันผุ โรคเหงือกอักเสบ-โรคปริทันต์ กลิ่นปากอันเนื่องมาจากสารประกอบกำมะถัน และแผลร้อนในตามเยื่อเมือกในช่องปากต่างๆ ได้อย่างเป็นรูปธรรม ..ซึ่งนั่นก็หมายความว่า โรคทั่วร่างอันเกี่ยวเนื่องมาจากโรคในช่องปากและฟัน ก็จะสามารถควบคุมหรือป้องกันได้เช่นเดียวกัน
Ref: Historical and contemporary hypotheses on the development of oral diseases: are we there yet?,
Department of Preventive Dentistry, Academic Centre for Dentistry Amsterdam (ACTA), University of Amsterdam and Free University Amsterdam, Amsterdam, Netherlands
Philips Research, Eindhoven, Netherlands