ข้อมูลงานวิจัยขององค์ประกอบที่สำคัญและสรรพคุณต่างๆ

 

ยาสีฟันแก้เสียวฟัน, Natural  toothpaste, Chocolate toothpaste

ดาร์ก ช็อคโกแล็ต

เป็นสารจากธรรมชาติที่นำมาใช้ทดแทนฟลูออไรด์ได้อย่างปลอดภัย และยังถือว่าเป็นไวท์เทนนิ่งที่มาจากธรรมชาติ จึงช่วยลดอาการเสียวฟัน, ป้องกันฟันผุ ช่วยเพิ่มความแกร่งของผิวเคลือบฟัน และทำให้ผิวเคลือบฟันเรียบ ยิ่งไปกว่านั้นจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ยังพบว่า สารในดาร์ก ช็อคโกแลตนั้น ยังสามารถลดการเกาะของเชื้อแบคทีเรียบนผิวฟันและยังสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียก่อโรคได้

อีกทั้งยังประกอบด้วย กรดแกลลิก (Gallic acid) จากธรรมชาติ ซึ่งเป็นองค์ประกอบของแทนนินในเมล็ดโกโก้ มีคุณสมบัติเป็นสารต้านออกซิเดชั่น ที่ฟอร์มคีเลตได้อย่างเสถียรกับธาตุเหล็ก ซึ่งสามารถผนึกปิดท่อเนื้อฟันที่เปิดออกได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว จึงช่วยลดอาการเสียวฟันได้เป็นอย่างดี และยังมีคุณสมบัติทำให้ผลึกสีฟันขาวขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ ตามลักษณะทางพันธุกรรมของแต่ละบุคคล

ยาสีฟันแก้เสียวฟัน, Natural  toothpaste, Chocolate toothpaste

Texture บนผิวฟัน ด้วยกำลังขยายระดับ Atom  / ผิวฟันเรียบขึ้น Smooth Tooth Surface/ ฟันลื่นและเรียบมากกว่า เมื่อใช้ Compound CBH

 อ้างอิง : 
+ Tooth Friendly Chocolate, Dr.Srisakthi .M.D.S. Senior lecturer, Dept. of Community Dentistry, Saveetha Dental College, Journal of Pharmaceutical Sciences and Research, A.Sudharsana et al /J. Pharm. Sci. & Res. Vol. 7(1), 2015, 49-50
+ A Safe and Effective Alternative for Fluoride in Dentifrices, Tetsuo Nakamoto, DDS, PhD,Alexander U. Falster, MS, and William B. Simmons, Jr., PhD, Department of Physiology, Louisiana State University Health Sciences Center, New Orleans, Louisiana. Maine Mineral and Gem Museum, Bethel, Maine.

+ https://pubs.rsc.org/en/content/articlehtml/2017/ra/c6ra24745h  

 

 

ยาสีฟันแก้เสียวฟัน, Natural  toothpaste, Chocolate toothpaste

เคซีน ฟอสโฟเปปไตด์ อะมอร์ฟัสแคลเซี่ยมฟอสเฟต

สามารถต่อต้านและป้องกันการเกิดฟันผุได้ โดยผ่านกลไกการขจัดแร่ธาตุ การคืนแร่ธาตุ ให้อยู่ในภาวะแลกเปลี่ยนแร่ธาตุกันอย่างสมดุล ระหว่างสารละลายในพลัคหรือแผ่นคราบจุลินทรีย์ (Dental Plaque/ Oral Biofilm) กับผลึกโครงสร้างฟัน (เคลือบฟัน เคลือบรากฟัน และเนื้อฟัน) และยับยั้งการเกาะของเชื้อแบคทีเรียกับผิวฟัน
 
เคลือบฟัน ( Enamel ) เป็นเนื้อเยื่อที่มีแร่ธาตุ ( Mineral ) เป็นองค์ประกอบในรูปของผลึกแคลเซียมฟอสเฟต ( Calcium Phosphate Crystal ) จำนวนมาก รูปแบบหนึ่งคือ ผลึกไฮดร็อกซีอะพาไทด์ Hydroxyapatite หรือ HA) ซึ่งเกิดจากการที่ไอออนของแคลเซียมฟอสเฟตและไฮดรอกซิล ( Hydroxyl - OH- ) มาจับและเรียงตัวกันซ้ำในรูปแบบที่คงที่แน่นอนเป็นโครงผลึกตาข่าย ( Lattice Structure ) นอกจากนี้ภายในเคลือบฟันยังมีแร่ธาตุชนิดอื่นๆแทรกปะปนอยู่บ้าง เช่น คาร์บอเนต ( Carbonate ) โซเดียม ( Sodium ) ฟลูออไรด์ (Fluoride) เป็นต้น นอกจากนี้แคลเซียมและฟอสเฟตอาจอยู่ในรูปแบบอื่นๆ เช่น บลูไชท์ ( Brushite ) ไตรแคลเซียมฟอสเฟต ( Tricalcium Phosphate ) ออกตาแคลเซียมฟอสเฟต ( Octacalcium Phosphate ) เป็นต้น ซึ่งแต่ละรูปแบบจะมีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่แตกต่างกันออกไป

ผลึกอะพาไทด์เหล่านี้มีความสำคัญต่อคุณสมบัติของเคลือบฟัน เนื่องจากคุณสมบัติในการละลาย ( Dissolution ) ของอะพาไทด์นี้จะส่งผลต่อการละลายโดยรวมของเคลือบฟันที่เกิดจากการขจัดแร่ธาตุ ( Demineralizatio ) และการคืนแร่ธาตุ ( Remineralization ) โดยปกติแร่ธาตุทุกชนิดจะมีคุณสมบัติในการละลายที่คงที่ ณ อุณหภูมิหนึ่งๆ คือเมื่อผลึกละลายตัวให้ไอออนออกมา จะเริ่มมีการสร้างผลึกขึ้นใหม่ในสารละลาย ( Solution ) จนสารละลายอยู่ในภาวะสมดุล หรือเรัยกว่าการอิ่มตัว ( Saturation ) ของแร่ธาตุในสารละลาย การละลายตัวของผลึกจึงหยุดลง

เมื่อความเป็นกรดด่างลดลง ( Low pH ) ไฮโดรเจนไอออน ( H+ ) จะจับและทำให้สูญเสียฟอสเฟตและไฮดร็อกซิลจากสารละลาย ในภาวะที่เป็นกรดนี้จะทำให้สมดุลของสารละลายหายไป และอยู่ในภาวะอิ่มตัวน้อยเกินไป ( Undersaturation ) จึงเกิดการละลายของผลึกไฮดร็อกซีอะพาไทด์เพื่อให้ภาวะสมดุลกลับมา

อ้างอิงจาก:
-เคซีนฟอสโฟเปปไตด์ อะมอร์ฟัสแคลเซียมฟอสเฟต, พิริยะ เชิดสถิรกุล, สาวิตรี อนุพันธ์, ภาควิชาทันตกรรมบูรณะ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
-Anticariogenicity of Casein Phosphopeptide-amorphous Calcium Phosphate

 

ยาสีฟันแก้เสียวฟัน, Natural  toothpaste, Chocolate toothpaste

น้ำผึ้งแท้ 100%

น้ำผึ้งแท้ที่ไม่ผ่านการเติมแต่ง จะสามารถยับยั้งการสูญเสียแร่ธาตุ และมีคุณสมบัติในการป้องกันฟันผุเมื่อเทียบกับน้ำตาลชนิดต่างๆ อย่าง กลูโคส ฟรุคโตส และซูโครส อีกทั้งยังช่วยลดจำนวนเชื้อแบคทีเรียที่เป็นตัวการสำคัญในการก่อให้เกิดฟันผุได้ เช่น Strep. Mutans, Lactobacillus Salivarius และ Bifidobacterium Dentium
 
มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งในประเทศอิหร่าน (ปี 2011) ได้ทำการศึกษาผลกระทบของน้ำผึ้งต่อการสูญเสียแร่ธาตุของผิวเคลือบฟันโดยเปรียบเทียบกับน้ำตาลกลูโคสและฟรุคโตส การทดลองทำในระดับ vitro (ศึกษานอกตัว ในสิ่งแวดล้อมที่ควบคุม) โดยใช้ตัวอย่างฟันกราม (premolar) ในสภาพสมบูรณ์ ไม่ผุ เป็นจำนวน 36 ซี่ แบ่งออกเป็นสามกลุ่มอย่างสุ่ม แต่ละกลุ่มถูกนำไปเก็บไว้ในหลอดที่บรรจุสารละลายชนิดต่างๆคือ น้ำผึ้ง ฟรุคโตส และกลูโคส ในสภาวะที่มีอาหารเลี้ยงเชื้อ โดยสารละลายดังกล่าวจะถูกเปลี่ยนทุกวันเป็นเวลา 21 วันแล้วนำตัวอย่างฟันมาตรวจดูระดับความลึกของการสูญเสียเคลือบฟันด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดโพลาไรซ์ และได้พบว่าน้ำผึ้งสามารถลดการเกิดฟันผุเมื่อเทียบกับน้ำตาลชนิดอื่นๆ งานวิจัยชิ้นนี้ได้แนะข้อจำกัดของการวิจัยว่าไม่สามารถสรุปเพื่อใช้ในระดับวงกว้างได้ (generalizability)

เมื่อเราทราบดีว่าสารให้ความหวานคือตัวการที่ทำให้เกิดฟันผุ การเลือกใช้น้ำผึ้งแทนน้ำตาลอื่นๆจึงเป็นทางเลือกที่ดีให้แก่เด็กๆ เพราะกลูโคสและฟรุคโตสสามารถก่อให้เกิดฟันผุได้น้อยกว่าน้ำตาลซูโครส แต่น้ำผึ้งกลับก่อให้เกิดฟันผุได้น้อยกว่ากลูโคสและฟรุคโตสเสียอีก

และในปี(2014) ได้มีงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่ง ซึ่งศึกษาผลกระทบของน้ำผึ้งที่มีต่อการป้องกันโรคเหงือกอักเสบและฟันผุในผู้ป่วยหญิง ที่เข้ารับการจัดฟันในประเทศอียิปต์เป็นจำนวน 20 คน อายุระหว่าง 12-18 ปี เพื่อศึกษาผลกระทบที่เกิดจากการเคี้ยวน้ำผึ้ง ที่มีผลต่อการก่อตัวของคราบจุลินทรีย์ ด้วยการวัดระดับค่าความเป็นกรด (pH) ภายในช่องปาก

โดยในการทดลอง จะทำการเปรียบเทียบผลกระทบของการเคี้ยวน้ำผึ้งแท้ (ไม่มีการเจือจาง) 10 กรัม เป็นเวลา 2 นาที เทียบกับการกลั้วปากด้วย ซูโครส10% หรือ ซอร์บิทอล(สารให้ความหวานที่เป็นน้ำตาลแอลกอฮอล์)10%  ในปริมาณ 15 มิลลิลิตร เป็นเวลา 1 นาที ซึ่งตัวอย่างคราบจุลินทรีย์ จะถูกเก็บหลังจากนั้นที่เวลา 2, 5,10, 20 และ 30 นาทีตามลำดับ พร้อมกับวัดค่าความเป็นกรด (pH) ภายในช่องปาก ซึ่งผลการทดลองพบว่า มีความแตกต่างในค่า pH ระหว่าง น้ำผึ้งกับซูโครส แต่ไม่พบความแตกต่างเมื่อเทียบกับซอร์บิทอล 

(หากค่า pH ในช่องปากลดลงถึงระดับวิกฤต คือน้อยกว่า 5.2-5.5 จะทำให้เกิดการสูญเสียแร่ธาตุของผิวเคลือบฟัน หลังจากนั้นค่า pH จะค่อยๆเพิ่มขึ้นช้าๆจนกระทั่งถึงค่า pH เริ่มแรกและเกิดการสะสมกลับของแร่ธาตุที่ผิวเคลือบฟันดังเดิม)

ค่า pH ของน้ำผึ้งและซูโครสจะลดลงสูงสุดในนาทีที่ 5  โดยน้ำผึ้งจะเกิดการฟื้นค่า pH ในนาทีที่ 20
ส่วนระดับค่าวิกฤต (pH 5.5) ไม่เกิดกับน้ำผึ้งและซอร์บิทอล ยกเว้นซูโครส ที่เกิดค่า pH ต่ำกว่าค่าวิกฤต และฟื้นค่า pH ในนาทีที่ 30
สำหรับซอร์บิทอล ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของค่า pH ตลอดทั้งการทดลอง
จึงได้ผลสรุปว่า การเคี้ยวน้ำผึ้งไม่ก่อให้เกิดการสูญเสียแร่ธาตุของผิวเคลือบฟัน เมื่อเทียบกับซูโครส เนื่องจากน้ำผึ้งมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดการสูญเสียแร่ธาตุของผิวเคลือบฟันได้ อีกทั้งยังช่วยลดจำนวนเชื้อแบคทีเรีย Strep. Mutans, Lactobacillus Salivarius and Bifidobacterium Dentium ในช่องปาก ที่เป็นตัวการสำคัญในการก่อให้เกิดฟันผุ

 ข้อมูลเพิ่มเติม

1. Ahmadi-Motamayel, F., Rezaei-Soufi, L., Kiani, L., Alikhani, M. Y., Poorolajal, J., & Moghadam, M. (2013). Effects of honey, glucose, and fructose on the enamel demineralization dept [Electronic version]. Journal of Dental Sciences, 8, 147-150.

2. Atwa, A. A., AbuShahba, R. Y., Mostafa, M., & Hashem, M. I. (2014). Effect of honey in preventing gingivitis and dental caries in patient undergoing orthodontic treatment [Electronic version]. The Saudi Dental Journal, 26, 108-114.

3. ทันตกรรมป้องกันในงานทันตกรรมสำหรับเด็ก (ออนไลน์). สืบค้นจาก http://www.dent.cmu.ac.th/thai/pedo/elearning/DPED481/e-book_dped481_prevent.pdf [18 สิงหาคม 2557]

อ้างอิง : 

- A REVIEW: DOES HONEY HAVE ROLE IN DENTISTRY?

RichaWadhawan, GauravSolanki, AditiPareek, RuchikaDhankar.

- A Review on the Protective Effects of Honey against Metabolic Syndrome

- Honey: A Natural Remedy in Dental and Oral Diseases

Sarim Ahmad, Seema Sharma, Shamim Ahmad
Department of Oral Pathology and Microbiology, Santosh Dental College, Ghaziabad, Microbiology Section, Institute of Ophthalmology, JN Medical College, Faculty of Medicine, Aligarh Muslim University, Aligarh, India.

  

  ยาสีฟันแก้เสียวฟัน, Natural  toothpaste, Chocolate toothpaste

สมุนไพรในกลุ่มที่มีหัวอยู่ในดิน เช่น  ขิง ข่า ขมิ้น กระชาย กระวาน โหระพา ฯลฯ

ประกอบด้วยสารต้านอนุมูลอิสระและสารต้านการอักเสบ ที่ช่วยลดทอนความรุนแรงในโรคเหงือกและโรคปริทันต์ และยังสร้างสภาพแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมไม่ให้เกิดฟันผุ เช่น ช่วยปรับค่า pH ในช่องปากให้อยู่ในสภาวะที่เป็นกลาง หรือเป็นด่างอ่อนๆ และยังช่วยรักษาสมดุลของเชื้อจุลินทรีย์ในช่องปาก ได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เป็นต้น

ข้อมูลเพิ่มเติม :

 ฟันผุ: Patel et al. (2011) established considerable antibacterial activity of ginger against S. mutans and Lactobacillus acidophilus. Moreover, a combination of extracts of ginger and honey was found to be effective against Staphylococcus aureus. They also suggested that a paste of ginger and honey can be effective in dental caries, mouth ulcers, and sore throat. Similar results were obtained by several other studies.

เหงือกอักเสบ: Recently, Mahyari et al. (2016) studied and compared the efficacy of herbal mouthwash containing hydroalcoholic extracts of Z. officinale, Rosmarinus officinalis, and Calendula officinalis (5% v/w) with chlorhexidine. Moreover, the efficacy of polyherbal mouthwash was comparable to that of chlorhexidine mouthwash.Quite a few studies have been conducted so far to assess the role of ginger and its extracts in diseases of the oral cavity with positive results. PubMed-based survey of studies conducted in the last 10 years (2005-2016) using the keywords “properties of ginger,” “uses of ginger in dentistry,” and “ginger extract in oral diseases” yielded 15 favorable results which establishes the antibacterial, antifungal, antineoplastic, antioxidant, and anti-inflammatory property of ginger in dentistry.

แผลในช่องปากต่างๆ เช่น แผลร้อนใน: The anti-inflammatory action of ginger improves the clinical symptoms of RAS. Haghpanah et al. (2015) instituted mucoadhesives containing ginger extract in the treatment of RAS and a significant reduction in the intensity of pain was observed in the treatment group, based on the visual analog scale.

สภาวะปากแห้ง: Xerostomia is a common complaint often found among the geriatric population, affecting approximately 20% of the people. Chamani et al. (2011) suggested that the systemic ginger extract application can increase the rate of salivation. Increased salivation may be due to direct parasympathomimetics effect on the post-synaptic M3 receptors and also a possible repressive effect on presynaptic muscarinic autoreceptors.

อ้างอิง :

+ Pharmacotherapeutic Properties of Ginger and its use in Diseases of the Oral Cavity, K. J. Rashmi1, Ritu Tiwari, Dental Connect, Bengaluru, Karnataka, India, Denty’s Oral Care and Cure, Bengaluru, Karnataka, India
- Kaempferia pandurata Roxb. inhibits Porphyromonas gingivalis supernatant-induced matrix metalloproteinase-9 expression via signal transduction in human oral epidermoid cells, Journal of ethnopharmacology 123(2):315-24 · July 2009
- Plants of the Genus Zingiber as Source of 3 Antimicrobial Agents: from Tradition to Pharmacy
- Antibacterial activity of zingiberaceae leaves Essential oils against streptococcus mutans And teeth-biofilm degradation, Article  in  International Journal of Pharma and Bio Sciences · October 2016 
- In Vitro Anti-Cariogenic Plaque Effects of Essential Oils Extracted from Culinary Herbs, Kornsit Wiwattanarattanabut, Suwan Choonharuangdej, and Theerathavaj Srithavaj, J Clin Diagn Res. 2017 Sep; 11(9): DC30–DC35.
- The Effect of Apple Cider Vinegar (ACV) as an Antifungal in a Diabetic Patient (Type II Diabetes ) with Intraoral Candidosis (A Case Report), Shaymaa M. Hassan* Lecturer in Department of Oral Medicine and Periodontology, Cairo University, Faculty of Dentistry. 11 Al Saraya, Al Manial, Giza Governorate, Egypt, International Journal of Dentistry and Oral Health

 

 

ยาสีฟันแก้เสียวฟัน, Natural  toothpaste, Chocolate toothpaste

ไบโอ-วานิลลิน
สารจากธรรมชาติ ที่ช่วยเกี่ยวกับโรคในช่องปาก ช่วยลดปริมาณของเอ็นไซม์ MPO ที่ถูกหลั่งออกมามากในน้ำลายและน้ำเหลืองเหงือกของคนที่เป็นโรคปริทันต์ และ ภาวะเหงือกอักเสบ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูงและยังช่วยให้เกิดสมดุลในภูมิคุ้มกันจากภาวะอักเสบเรื้อรัง (เป็น Immuno-modulatorช่วยลดทอนภาระของระบบภูมิคุ้มกัน) ยิ่งไปกว่านั้น วานิลลินยังมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อราในช่องปาก เช่น เชื้อราในกลุ่มแคนดิดา

+ Interleukin - 17.. เป็นสารประเภทโปรตีนที่อยู่ในกลไกของระบบภูมิคุ้มกัน ..Bio-vanillin เป็น  IL-17 Inhibition สามารถลดทอนความรุนแรงของโรคเหงือกอักเสบ โรคปริทันต์ และแผลเรื้อรังในช่องปาก
​+ Downregulation of IL-23 and IL-17 expression.. ช่วยลดทอนการอักเสบและลดทอนการทำลายจากภาวะภูมิคุ้มกันที่มากเกิน ในโรคปริทันต์ชนิดก้าวร้าว ( Aggressive Periodontitis )
​+ inhibits MMP-9 expression.. ช่วยลดทอนการอักเสบและลดทอนการทำลายจากภาวะภูมิคุ้มกันที่มากเกิน ในโรคปริทันต์ชนิดก้าวร้าว ( Aggressive Periodontitis ) 
+ ช่วยลดปริมาณของ เอ็นไซม์ Myeloperoxidases (MPO) ที่ถูกหลั่งออกมามากในน้ำลายและน้ำเหลืองเหงือก ในคนที่เป็นโรคปริทันต์และเหงือกอักเสบ
+ ช่วยให้เกิดสมดุลระหว่างเชื้อก่อโรคปริทันต์กับการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของร่างกาย จากภาวะอักเสบเรื้อรังในโรคเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์
​+ เป็น Powerful Antioxidant and Redox Balance 
+ เป็นสารธรรมชาติ Perioceutic Agent

Note: 
Matrix metalloproteinase (MMP) สร้างจากเซลล์เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue cell) เป็นเอนไซม์ เมดิเอเตอร์ (enzyme mediator) ที่จัดอยู่ในกลุ่ม endopeptidase เช่น collagenase, gelatinase, membrane-bound proteinase จะมีอยู่มากในน้ำลายและน้ำเหลืองเหงือกในคนที่เป็นโรคปริทันต์หรือคนที่มีภาวะการอักเสบเรื้อรัง (chronic inflammation) ทำหน้าที่ย่อยโปรตีนที่เป็นส่วนสำคัญสำหรับ extracellular matrix บริเวณเร่งของเอนไซม์จะประกอบด้วยกรดอะมิโนกลูตามิก (glutamic acid) และฮิสทิดีน (histidine) และ Zn2+ ซึ่งเป็นตำแหน่งเข้าจับกับซับสเตรต (substrate) ตัวยับยั้งเอนไซม์นี้ที่สำคัญคือ tissue inhibitor of metalloproteinases (TIMPs) ซึ่งจะเข้าจับกับ MMP เพื่อรักษาดุลเมตาบอลิซึมของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue) ถ้าขาด TIMPs อาจทำให้เกิดพยาธิสภาพได้ ซึ่งในคนที่เป็นโรคเหงือกและโรคปริทันต์นั้น TIMPs ทำหน้าที่บกพร่อง ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องใช้สารธรรมชาติจากภายนอกเข้าไปช่วยเสริม เพื่อแบ่งเบาภาระในระบบภูมิคุ้มกันที่ทำงานมากเกิน จนกว่าร่างกายจะสามารถฟื้นตัวได้เองและสามารถปิดวงจรการตอบสนองในระบบภูมิคุ้มกันนี้ด้วยตัวเอง

 อ้างอิง :

Neutrophil Functions in Periodontal Homeostasis, Ricarda Cortés-Vieyra, Carlos Rosales, and Eileen Uribe-Querol Departamento de Inmunolog´ıa, Instituto de Investigaciones Biomedicas, Universidad Nacional Aut ´ onoma de M ´ exico, ´ 04510 Ciudad de Mexico, DF, Mexico
- MOLECULAR BIOLOGY EFFECTS OF VANILLIN ON KERATINOCYTES

 

 ยาสีฟันแก้เสียวฟัน, Natural  toothpaste, Chocolate toothpaste

กรดอะมิโนอาร์จินีน 

อาร์จินีน(Arginine)จัดเป็นกรดแอมิโนที่จำเป็น (Essential amino acid) ซึ่งเป็นพรีไบโอติกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันฟันผุ (reviewed in Nascimento, 2018) อาร์จินีนสามารถถูกย่อยสลายได้โดยจุลินทรีย์ที่อยู่ในภาวะสมดุลแบบเกื้อกูล (เช่น S. sanguinis และ S. gordonii) เพื่อสร้างแอมโมเนียซึ่งเป็นโมเลกุลอัลคาไลน์ที่สามารถบัฟเฟอร์กรดอินทรีย์ในแผ่นคราบจุลินทรีย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปฏิกิริยาเหล่านี้เกิดขึ้นด้วยระบบ Arginine Deiminase System(ADS) นอกเหนือไปจากที่ทำให้ค่า pH เป็นอัลคาไลน์ที่มากขึ้นแล้ว การสลายตัวของอาร์จินีนโดย ADS ยังสร้าง ATP(พลังงาน) ซึ่งสามารถให้พลังงานต่อเชื้อจุลินทรีย์สเตรปโทคอกไคในระบบนิเวศน์แบบเกื้อกูล (Bowen et al., 2018) นอกจากนี้อาร์จินีนยังสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ชนิดก่อโรคและช่วยลดความเครียดที่มีต่อเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค เช่น S. mutans ซึ่งมีผลในการช่วยป้องกันการเกิดฟันผุ 

 อ้างอิง :

Potential Uses of Arginine in Dentistry: 1. reviewed in Nascimento, 2018 , 2. Bowen et al., 2018 , 3. Chakraborty and Burne, 2017 , 4. Astvaldsdottir et al., 2016; Richards, 2017 , 5. Agnello et al., 2017; Huang et al., 2017; Zheng et al., 2017 , 6. Slomka et al., 2017, 2018

 

ยาสีฟันแก้เสียวฟัน, Natural  toothpaste, Chocolate toothpaste

กรดไขมันโอเมก้า 3
กรดไขมันโอเมก้า 3 ช่วยลดทอนภาวะการอักเสบที่เกิดขึ้นในช่องปาก ช่วยปรับคุณภาพและปริมาณของน้ำลาย โดยมีผลในแง่ของการป้องกันการเกิดโรคต่างๆในช่องปากได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ส่งเสริมการทำงานของโปรตีนต้านจุลชีพ ที่มีอยู่ในเยื่อเมือกช่องปาก เหงือก ลิ้นและน้ำลาย จึงช่วยลดทอนภาวะอักเสบในช่องปาก และไม่ทำให้เสียสมดุลระหว่างเชื้อก่อโรค และเชื้อจุลินทรีย์ประจำถิ่น (เชื้อที่ไม่ก่อโรค)  ช่วยปรับคุณภาพและปริมาณของน้ำลาย ในแง่ขององค์ประกอบที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคต่างๆในช่องปากและฟัน 

กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ( Omega Fatty Acids ) มีบทบาทในการป้องกันโรคที่หลากหลาย โดยไปมีผลต่อกลไกการทำงานของเอ็นไซม์ Matrix metalloproteinase (MMPs) จากการค้นพบล่าสุดแสดงให้เห็นว่า กรดไขมันโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 มีฤทธิ์ต้านการอักเสบในโรคปริทันต์ และยับยั้งสารประกอบที่เกี่ยวเนื่องกันโดยตรงต่อเอ็นไซม์ MMPs และยังสามารถยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์ โปรตีเอสชนิด MMP-2 และ MMP-9 ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่มีอยู่ในเนื้อฟันโดยเกี่ยวข้องกับโครงสร้างเนื้อฟันและการถูกทำลายเนื้อฟันโดยกรดแลคติกจากแบคทีเรีย S. mutans (Pathogen) ในภาวะที่สูญเสียสมดุลของจุลชีพในช่องปาก ( Disruption of Oral Microbiome ) ซึ่งกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนชนิดโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 เหล่านี้มีบทบาทสำคัญในฐานะเป็นสารยับยั้ง MMPs activity ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางใหม่ในการจัดการ หรือป้องกันภาวะโรคในช่องปากต่างๆ ที่ยังคงเป็นปัญหาสำคัญและยังคงมีอุบัติการณ์การเกิดที่มากในปัจจุบัน ซึ่งได้แก่ โรคเหงือกอักเสบ โรคปริทันต์ในความรุนแรงระดับต่างๆ ซึ่งในโรคปริทันต์​นั้น จากการศึกษาในปัจจุบันพบว่า มีระดับของเอ็นไซม์ MMP-2 และ MMP-9 ในปริมาณที่สูง​ ซึ่งถ้ายับยั้งเอ็นไซม์เหล่านี้ให้น้อยลง​ไปได้ ถือว่าเปนการจัดการที่ถูกจุด​และน่าจะเป็นผลดีต่อการบำบัดโรคปริทันต์ ( Periodontal Therapy ) ซึ่งหมายรวมไปถึงสามารถยับยั้งการทำลายเนื้อเยื่ออ่อนและกระดูกของอวัยวะปริทันต์ต่างๆ เช่น เหงือก ( Gingiva ) กระดูกเบ้าฟัน ( Alveolar Bone ) เป็นต้น รวมทั้งโรคฟันผุ และผลแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในทางอ้อมอื่นๆ อย่างเช่น กลิ่นปาก อันเกิดขึ้นจากความไม่สมดุลของจุลชีพในช่องปาก จนทำให้เกิด Volatile sulfur compounds (VSCs) ตัวอย่างเช่น H(2)S และ CH(3)SH จากแบคทีเรียชนิดก่อโรค (Pathogen) ที่มีมากเกินไป ในภาวะที่สูญเสียสมดุล ( Loss of Oral Microbiome Balance )

อ้างอิง :
+https://www.researchgate.net/publication/317873212_Omega3_and_Omega6_Fatty_Acids_Act_as_Inhibitors_of_the_Matrix_Metalloproteinase-2_and_Matrix_Metalloproteinase-9_Activity
+พยาธิวิทยาภูมิคุ้มกันของโรคปริทันต์ ( Immunopathology of Periodontal Disease ), บทบาทของสารตัวกลางจากภูมิคุ้มกันที่เป็นมาแต่กำเนิดในโรคปริทันต์, The Role of Mediators from Innate Immunity in Periodontal Disease, สุทธิชัย กฤษณะประกรกิจ, พัทนินทร์ มนตรีขจร และคณะ
+https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3945394/
+Omega 3 fatty acids and periodontitis in U.S. adults, Asghar Z. Naqvi, MD, MPH, MNS, Catherine Buettner, MD, MPH, Russell S. Phillips, MD, Roger B. Davis, ScD, and Kenneth J. Mukamal, MD, MPH, MA, 
+Effect of Omega 3 on Periodontitis in Postmenopausal Women
+Omega-3 Fatty Acids For Periodontal Health: An Update
October 1, 2014
by David W. Dodington, BSc (Hons), MSc; Peter C. Fritz, BSc, DDS, FRCD(C), PhD (Perio), Certified Specialist in Periodontics; Wendy E. Ward, B. Arts & Sci. (Hons), MSc, PhD.

 

แหล่งอ้างอิงและงานวิจัยของส่วนประกอบต่างๆในยาสีฟันรีเย่อร์

สะเดา

The branches, bark, leaves, flowers, fruit and seeds of the neem, or Azadirachta indica, tree have been used traditionally in Ayurvedic, Unani and homeopathic schools of medicine to treat a variety of conditions including diabetes, heart disease, infections, skin diseases and ulcers. The bitter, yellow oil extracted from the seeds of the tree contains biologically active compounds such as azadirachtin, triterpenes and glycerides, which give it an immense medicinal value. Neem supplements are available as oils, capsules, tablets, creams, dentifrice or tooth paste, dental tonic and mouthwashes. Individual doses may vary based on the age, overall health and condition being treated.

สรรพคุณจากสมุนไพรสะเดา ต่อสุขภาพในช่องปาก เหงือก และฟัน


Mouthwashes containing neem can significantly inhibit the growth of the bacteria Streptococcus mutans in the mouth, according to a study published in the July-September 2001 issue of the “Indian Journal of Dental Research.” This may in turn reduce the risk of gum disease. Another study, published in the winter 2008 edition of “The Journal of Clinical Pediatric Dentistry,” revealed that neem mouthwashes reduce the incidence of plaque and gingivitis. Dr. Linda Page, author of the book “Healthy Healing,” also states that neem oil is commonly added to natural toothpastes as a purifier and as an antimicrobial agent that helps prevent dental diseases. Drugs.com also reaffirms that neem twigs and neem oil may effectively lower the count of microorganisms responsible for dental diseases.

อ้างอิง:

Drugs.com: Neem
"Indian Journal of Dental Research"; The Effect of Indigenous Neem Azadirachta Indica [Correction of (Adirachta Indica)] Mouth Wash on Streptococcus Mutans and Lactobacilli Growth; A. Vanka et al; July-September 2001
"Journal of Clinical Pediatric Dentistry"; Effect of Various Mouthwashes on the Levels of Interleukin-2 and Interferon-Gamma in Chronic Gingivitis; S. Sharma et al; Winter 2008
"Linda Page's Healthy Healing"; Linda Page; 2004
"Indian Pediatrics"; Neem Oil Poisoning; Ramchandra K Dhongade et al; January 2008
"Einstein"; Effect of Neem Oil on the Structure and Function of the Mature Female Albino Rat Ovaries; Masood Ahmed Shaikh et al; 2009
https://www.livestrong.com/article/525473-neem-oil-gum-disease/

อ้างอิง : 
+ Tooth Friendly Chocolate, Dr.Srisakthi .M.D.S. Senior lecturer, Dept. of Community Dentistry, Saveetha Dental College, Journal of Pharmaceutical Sciences and Research, A.Sudharsana et al /J. Pharm. Sci. & Res. Vol. 7(1), 2015, 49-50
+ A Safe and Effective Alternative for Fluoride in Dentifrices, Tetsuo Nakamoto, DDS, PhD,Alexander U. Falster, MS, and William B. Simmons, Jr., PhD, Department of Physiology, Louisiana State University Health Sciences Center, New Orleans, Louisiana. Maine Mineral and Gem Museum, Bethel, Maine.

Casein Phosphopeptide-Amorphous Calcium Phosphate (CPP-ACP)

ช่วยต่อต้านการเกิดฟันผุ โดยผ่านกลไกที่สำคัญดังนี้


๑. ยับยั้งการขจัดแร่ธาตุของเคลือบฟัน ( Inhibit Demineralization of Tooth )

เมื่อมีภาวะความเป็นกรดเพิ่มขึ้นในช่องปากหลังจากการรับประทานอาหาร ( Low pH ) จึงเกิดภาวะความอิ่มตัวน้อยเกิน และเพื่อให้ภาวะสมดุลกลับมาอีกครั้ง จึงเกิดการละลายไอออนของแคลเซี่ยมและฟอสเฟตออกมาจากแหล่งต่างๆ รวมทั้งจากเคลือบฟันด้วย ..แต่เมื่อมี CPP-ACP อยู่ในแผ่นคราบจุลินทรีย์ หรือไบโอฟิล์ม จะทำการปรับสภาพความเป็นกรดในแผ่นคราบจุลินทรีย์นั้น และในขณะเดียวกันทำหน้าที่เป็นแหล่งแร่ธาตุสำรอง สำหรับแตกตัวให้แคลเซี่ยม ฟอสเฟต และแคลเซี่ยม ไฮโดรเจน ฟอสเฟต แทนที่จะละลายโครงผลึกในเคลือบฟันเพื่อเพิ่มจำนวนไอออนในการปรับสภาพดังกล่าว เมื่อไอออนเพิ่มขึ้น จะทำให้ค่าความเป็นกรดด่างเพิ่มขึ้น ( High pH ) ทำให้สมดุลกลับมาอีกครั้งโดยไม่มีการสูญเสียแร่ธาตุออกไปจากโครงสร้างของผิวเคลือบฟัน ดังนั้น CPP-ACP จึงมีบทบาทในการป้องกันการสูญเสียแร่ธาตุออกไปจากผิวเคลือบฟันได้

๒. ส่งเสริมให้เกิดการคืนแร่ธาตุสู่ผิวเคลือบฟัน ( Boost Remineralization of Tooth )

การคืนแร่ธาตุหรือการสร้างผลึกขึ้นใหม่นั้น จำเป็นที่จะต้องอาศัยสารละลายที่มีภาวะอิ่มตัวเกิน นั่นคือจำเป็นที่จะต้องมีไอออนที่เป็นองค์ประกอบต่างๆ ในปริมาณที่มากพอที่จะทำให้เกิดการสร้างผลึกขึ้นมาใหม่ได้
แต่ CPP-ACP สามารถทำให้สารละลายที่อยู่ในแผ่นคราบจุลินทรีย์เกิดภาวะอิ่มตัวเกินได้ โดย CPP ซึ่งจับกับ ACP นั้น ทำหน้าที่เป็นแหล่งผลิตแคลเซี่ยม ฟอสเฟต รวมไปถึงไอออนของ แคลเซี่ยม ไฮโดรเจน ฟอสเฟต ในสภาวะที่เป็นกลางออกมาสู่แผ่นคราบจุลินทรีย์ ทำให้ของเหลวในแผ่นคราบจุลินทรีย์มีระดับแคลเซี่ยมที่สูงขึ้นและเข้าสู่ภาวะอิ่มตัวเกิน จนเกิดการคืนแร่ธาตุได้อย่างรวดเร็วและเข้าสู่สภาวะปกติได้ในที่สุด

ดังการศึกษาที่นำตัวอย่างรอยโรคใต้ผิวเคลือบฟัน ( Enamel Subsurface Lesion ) แช่ลงในสารละลายของ CPP ที่มีไอออนของแคลเซี่ยมและฟอสเฟตอยู่ พบว่าเกิดการคืนแร่ธาตุของรอยโรคใต้ผิวเคลือบฟัน โดยที่ผลึกส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นจากการคืนแร่ธาตุนั้นเป็น ผลึกไฮดร็อกซีอะพาไทด์ (Hydroxyapatite หรือ HA) และค่าเฉลี่ยความเร็วของการคืนแร่ธาตุนี้ประมาณ 3.9+-0.8 X 10 -8 โมล/ ตารางมิลลิเมตร/ วินาที

๓. ยับยั้งการเกาะกันของแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดฟันผุ ( Inhibit Adhesion/ Cohesion of Bacterial Pathogens on Tooth Surface )

การเกิดคราบจุลินทรีย์นั้นเริ่มต้นจากการจับกันระหว่างเยื่อผิวน้ำลาย ( Saliva Pellicle ) ที่คลุมอยู่บนผิวฟันกับเชื้อแบคทีเรีย จากนั้นเชื้อแบคทีเรียจะจับกันเองและมีการเจริญเติบโตจนมีจำนวนมากขึ้นอย่างหลากหลาย กลายเป็นคราบจุลินทรีย์ที่สมบูรณ์ในที่สุด

จากการศึกษาพบว่า CPP-ACP สามารถจับกับแบคทีเรียชนิดสเตรพโตคอคคัส ( Streptococcus )ได้ โดยมีความสามารถในการจับกับเชื้อแต่ละชนิดแตกต่างกัน และจากการศึกษาของ Reynolds และคณะ พบว่า CPP-ACP สามารถยับยั้ง เชื้อสเตร็พโตคอคคัส มิวแทนส์ ( Streptococcus mutans ) ในแผ่นคราบจุลินทรีย์ โดยการเพิ่มปริมาณของแคลเซี่ยม และฟอสเฟต ไอออน ในแผ่นคราบจุลินทรีย์ เป็นผลให้เกิดการฆ่าเชื้อแบคทีเรียในบางส่วนและยับยั้งเชื้อแบคทีเรียในบางส่วน โดยโฟกัสไปที่ทำให้เกิดการล้มเหลวของผนังเซลล์ของเชื้อแบคทีเรียชนิดต่างๆ ( Bacterial Cell Wall Lysis ) โดยเฉพาะเชื้อ Streptococcus mutans

เมื่อมีการเกิดฟันผุนั่นหมายถึงมีภาวะความเป็นกรดเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ก็ยิ่งทำให้แคลเซี่ยมมีการละลายและเพิ่มปริมาณของไอออนในสารละลายมากขึ้น จึงเป็นผลให้เซลล์แบคทีเรียมีการสลายมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการเพิ่มปริมาณแคลเซี่ยมเข้าไปที่ของเหลวในแผ่นคราบจุลินทรีย์ จึงทำให้เกิดการตายของเชื้อแบคทีเรียตามมาได้มาก ด้วยกลไกของความอิ่มตัวของแร่ธาตุที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ

นอกจากนี้ Schupbach และคณะ พบว่า เมื่อมี CPP ในเยื่อผิวน้ำลาย เชื้อสเตร็พโตคอคคัส มิวแทนส์ ( Streptococcus mutans ) จะจับกับเยื่อผิวน้ำลายได้น้อยลง ทำให้คราบจุลินทรีย์นั้นกลายเป็นคราบจุลินทรีย์ที่ไม่ทำให้เกิดฟันผุ ( Non-cariogenic Plaque ) จึงลดการผุของฟันได้ และจากการศึกษาของ Rose ได้ให้เหตุผลอธิบายข้างต้นว่า CPP-ACP จะแย่งจับกับตำแหน่งยึดเหนี่ยวแคลเซี่ยม ( Calcium Binding Site ) ของแบคทีเรีย ทำให้การเชื่อมต่อแคลเซี่ยม ( Calcium Bridge ) ระหว่างเยื่อผิวน้ำลายกับเซลล์ของแบคทีเรียลดลง รวมทั้งลดการเชื่อมต่อระหว่างเซลล์แบคทีเรียด้วยกันเอง

จากการศึกษาต่างๆ สรุปได้ว่า CPP-ACP ที่อยู่ภายในของเหลวในคราบจุลินทรีย์ จะทำให้แคลเซี่ยมมีปริมาณสูงอยู่ตลอดเวลา โดยแคลเซี่ยมเหล่านี้จะไปจับกับแบคทีเรีย ซึ่งจะส่งผลให้แบคทีเรียเกิดการตาย ( Bacterial Cell Wall Lysis ) นอกจากนี้ CPP-ACP จะแย่งกับแคลเซี่ยมในการจับกับตำแหน่งยึดเหนี่ยวแคลเซี่ยมของแบคทีเรีย ทำให้แบคทีเรียไม่สามารถจับกับเยื่อผิวน้ำลายรวมทั้งไม่สามารถจับกันเองได้ ส่งผลให้การเกาะกลุ่ม ( Colonization ) ของเชื้อโรคที่ทำให้เกิดกรดและก่อให้เกิดฟันผุลดลง ทำให้ไม่สามารถเกิดการลุกลามของฟันผุและเกิดการคืนแร่ธาตุได้อีกด้วย

สรุป Casein Phosphopeptide-Amorphous Calcium Phosphate (CPP-ACP)
เคซีน ฟอสโฟเปปไตด์ อะมอร์ฟัสแคลเซี่ยมฟอสเฟต หรือเรียกโดยย่อว่า ซีพีพี - เอซีพี (CPP-ACP) จะสามารถต่อต้านและป้องกันการเกิดฟันผุได้ โดยผ่านกลไกการยับยั้งการขจัดแร่ธาตุ การเพิ่มการคืนแร่ธาตุ และยับยั้งการเกาะของเชื้อแบคทีเรียกับผิวฟัน

อ้างอิงจาก:
-เคซีนฟอสโฟเปปไตด์ อะมอร์ฟัสแคลเซียมฟอสเฟต, พิริยะ เชิดสถิรกุล, สาวิตรี อนุพันธ์, ภาควิชาทันตกรรมบูรณะ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
-Anticariogenicity of Casein Phosphopeptide-amorphous Calcium Phosphate

+ ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคเหงือกและโรคปริทันต์ ช่วยยับยั้งโปรตีนย่อยเอ็นไซม์ที่เกิดขึ้นในกระบวนการอักเสบในช่องปาก และช่วยลดการก่อตัวของหินปูนในช่องปากได้อย่างมีนัยยะสำคัญ

+ คุณสมบัติหนึ่งที่น่าสนใจในน้ำผึ้งแท้ คือ....มีคุณสมบัติช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ..โดยผ่าน เอ็นไซม์ แอลฟ่า อะไมเลส และ แอลฟ่า กลูโคซิเดส ..โดยมีผลทำให้การคอนเวิร์ทจากแป้ง ..โอลิโก แซคคาไรด์ ไตร แซคคาไรด์ และได แซคคาไรด์ เปนน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว หรือ โมโน แซคคาไรด์ ..ลดลง..ซึ่งนั่นคือ"ต้นตอ" ..ที่ทำให้เกิดผลลัพธ์สุดท้ายคือ ..เชื้อจุลินทรีย์เปลี่ยนน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ..ไปเปนกรด(แลคติค อะซีติค) ..ได้น้อยลงไปด้วย ..ดังนั้น ..ในน้ำผึ้งแท้ ( Whole Honey)..ที่ครบองค์ประกอบ ..โดยไม่ผ่านการโพรเซสหรือเติมแต่ง ..จึงสามารถยับยั้งการสูญเสียแร่ธาตุหรือการเกิดฟันผุได้

+ และด้วยข้อเท็จจริงที่ว่า ..ฟรัคโตสที่มีอยู่ในน้ำผึ้งนั้น ..ไม่มีผลกระทบต่อเมตาโบไล้ท์ ต่างๆในร่างกาย ..ในอันที่ก่อให้เกิดโทษ ..แต่ในองค์ประกอบโดยรวมที่มีอยู่ในน้ำผึ้งนั้น ..จะทำให้เกิด เซลลูล่าร์ อีเว้นต์..ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายที่มากกว่าจะ ..เกิดโทษ ..แม้ว่า ฟรัคโตสนั้นจะเป็น โปร-อ็อกซิเดทีฟ ก็ตาม ...เพราะแท้จริงแล้วมันมีอยู่ไม่มาก (< 50%) ไปกว่าเอ็นไซม์ ต่างๆและสารต้านอนุมูลอิสระ(เป็น Prebiotic) ที่ประกอบกันเปน Whole Honey

+ มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งในประเทศอิหร่าน (ปี 2011) ได้ทำการศึกษาผลกระทบของน้ำผึ้งต่อการสูญเสียแร่ธาตุของผิวเคลือบฟันโดยเปรียบเทียบกับน้ำตาลกลูโคสและฟรุคโตส การทดลองทำในระดับ vitro (ศึกษานอกตัว ในสิ่งแวดล้อมที่ควบคุม) โดยใช้ตัวอย่างฟันกราม (premolar) ในสภาพสมบูรณ์ ไม่ผุ เป็นจำนวน 36 ซี่ แบ่งออกเป็นสามกลุ่มอย่างสุ่ม แต่ละกลุ่มถูกนำไปเก็บไว้ในหลอดที่บรรจุสารละลายชนิดต่างๆคือ น้ำผึ้ง ฟรุคโตส และกลูโคส ในสภาวะที่มีอาหารเลี้ยงเชื้อ โดยสารละลายดังกล่าวจะถูกเปลี่ยนทุกวันเป็นเวลา 21 วันแล้วนำตัวอย่างฟันมาตรวจดูระดับความลึกของการสูญเสียเคลือบฟันด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดโพลาไรซ์ พบว่าน้ำผึ้งสามารถลดการเกิดฟันผุเมื่อเทียบกับน้ำตาลชนิดอื่นๆ งานวิจัยชิ้นนี้ได้แนะข้อจำกัดของการวิจัยว่าไม่สามารถสรุปเพื่อใช้ในระดับวงกว้างได้ (generalizability) เมื่อเราทราบดีว่าสารให้ความหวานคือตัวการที่ทำให้เกิดฟันผุ การเลือกใช้น้ำผึ้งแทนน้ำตาลอื่นๆจึงเป็นทางเลือกที่ดีให้แก่เด็กๆ เพราะกลูโคสและฟรุคโตสสามารถก่อให้เกิดฟันผุได้น้อยกว่าน้ำตาลซูโครส แต่น้ำผึ้งกลับก่อให้เกิดฟันผุได้น้อยกว่ากลูโคสและฟรุคโตสเสียอีก

ในอีกสามปีให้หลัง..ในปี(2014) ได้มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่เผยแพร่ในวารสารทันตกรรมมหาวิทยาลัยคิงซาอูดซึ่งศึกษาผลกระทบของน้ำผึ้งที่มีต่อการป้องกันโรคเหงือกอักเสบ (gingivitis) และฟันผุในผู้ป่วยหญิงที่เข้ารับการจัดฟัน (orthodontic) ในประเทศอียิปต์เป็นจำนวน 20 คน อายุระหว่าง 12-18 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบที่เกิดจากการเคี้ยวน้ำผึ้งต่อการก่อตัวของคราบจุลินทรีย์โดยวัดระดับค่าความเป็นกรด (pH) ภายในช่องปาก อธิบายอย่างคร่าวๆได้ว่าถ้าค่า pH ในช่องปากลดลงถึงระดับวิกฤต คือน้อยกว่า 5.2-5.5 จะทำให้เกิดการสูญเสียแร่ธาตุของผิวเคลือบฟัน (demimeralization) หลังจากนั้นค่า pH จะค่อยๆเพิ่มขึ้นช้าๆจนกระทั่งถึงค่า pH เริ่มแรกและเกิดการสะสมกลับของแร่ธาตุที่ผิวเคลือบฟัน (remineralization) การทดลองดังกล่าวทำการสุ่มตัวอย่างผู้ป่วยที่เข้าร่วมในครั้งนี้แบบมีกลุ่มควบคุมโดยเปรียบเทียบผลกระทบของการเคี้ยวน้ำผึ้งแท้ (ไม่มีการเจือจาง) 10 กรัมเป็นเวลา 2 นาที กับการกลั้วปากด้วย 10% ซูโครสหรือ 10% ซอร์บิทอล (sorbitol) ในปริมาณ 15 มิลลิลิตรเป็นเวลา 1 นาที ซึ่งตัวอย่างคราบจุลินทรีย์จะถูกเก็บหลังจากนั้นที่เวลา 2, 5,10, 20 และ 30 นาทีตามลำดับพร้อมกับวัดค่า pH ผลการทดลองพบว่ามีความแตกต่างในค่า pH ระหว่างน้ำผึ้งกับซูโครสแต่ไม่พบความแตกต่างเมื่อเทียบกับซอร์บิทอล ค่า pH จะลดลงสูงสุดในนาทีที่ 5 ซึ่งพบทั้งในกลุ่มน้ำผึ้งและซูโครส โดยน้ำผึ้งจะเกิดการฟื้นค่า pH ในนาทีที่ 20 ส่วนระดับค่าวิกฤต (pH 5.5) ไม่เกิดกับน้ำผึ้งและซอร์บิทอล ยกเว้นซูโครสเกิดค่า pH ต่ำกว่าค่าวิกฤตโดยฟื้นค่า pH ในนาทีที่ 30 สำหรับซอร์บิทอลไม่พบการเปลี่ยนแปลงของค่า pH ตลอดทั้งการทดลอง สรุปได้ว่าการเคี้ยวน้ำผึ้งไม่ก่อให้เกิดการลดระดับค่า pH จนต่ำกว่าค่าวิกฤตเมื่อเทียบกับซูโครส เนื่องจากน้ำผึ้งมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่สามารถเปลี่ยนแปลงค่า pH ให้ต่ำลงถึงระดับวิกฤตได้ อีกทั้งงานวิจัยยังพบด้วยว่าจำนวนเชื้อแบคทีเรีย (S. mutans, P. gingivalis และ L. acidophilus) ในช่องปากมีปริมาณลดลงอย่างมีนัยสำคัญหลังจากเคี้ยวน้ำผึ้ง

ดังนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่าน้ำผึ้งมีคุณสมบัติในการป้องกันฟันผุเมื่อเทียบกับน้ำตาลชนิดต่างๆคือ กลูโคส ฟรุคโตส และซูโครส อีกทั้งยังช่วยลดจำนวนเชื้อแบคทีเรีย (Strep. Mutans, Lactobacillus Salivarius and Bifidobacterium Dentium) ในช่องปากที่เป็นตัวการสำคัญในการก่อให้เกิดฟันผุ


ข้อมูลเพิ่มเติม

1. Ahmadi-Motamayel, F., Rezaei-Soufi, L., Kiani, L., Alikhani, M. Y., Poorolajal, J., & Moghadam, M. (2013). Effects of honey, glucose, and fructose on the enamel demineralization dept [Electronic version]. Journal of Dental Sciences, 8, 147-150.

2. Atwa, A. A., AbuShahba, R. Y., Mostafa, M., & Hashem, M. I. (2014). Effect of honey in preventing gingivitis and dental caries in patient undergoing orthodontic treatment [Electronic version]. The Saudi Dental Journal, 26, 108-114.

3. ทันตกรรมป้องกันในงานทันตกรรมสำหรับเด็ก (ออนไลน์). สืบค้นจาก http://www.dent.cmu.ac.th/thai/pedo/elearning/DPED481/e-book_dped481_prevent.pdf [18 สิงหาคม 2557]

อ้างอิง : 

- A REVIEW: DOES HONEY HAVE ROLE IN DENTISTRY?

RichaWadhawan, GauravSolanki, AditiPareek, RuchikaDhankar.

- A Review on the Protective Effects of Honey against Metabolic Syndrome

- Honey: A Natural Remedy in Dental and Oral Diseases

Sarim Ahmad, Seema Sharma, Shamim Ahmad
Department of Oral Pathology and Microbiology, Santosh Dental College, Ghaziabad, Microbiology Section, Institute of Ophthalmology, JN Medical College, Faculty of Medicine, Aligarh Muslim University, Aligarh, India.
 

ขิง ข่า ขมิ้น กระชาย กระวาน โหระพา ฯลฯ

ประกอบด้วยสารต้านอนุมูลอิสระและสารต้านการอักเสบ ที่ช่วยลดทอนความรุนแรงในโรคเหงือกและโรคปริทันต์ และยังสร้างสภาพแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมไม่ให้เกิดฟันผุ เช่น ช่วยปรับค่า pH ในช่องปากให้อยู่ในสภาวะที่เป็นกลาง หรือเป็นด่างอ่อนๆ และยังช่วยรักษาสมดุลของเชื้อจุลินทรีย์ในช่องปาก ได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เป็นต้น

 
ฟันผุ: Patel et al. (2011) established considerable antibacterial activity of ginger against S. mutans and Lactobacillus acidophilus. Moreover, a combination of extracts of ginger and honey was found to be effective against Staphylococcus aureus. They also suggested that a paste of ginger and honey can be effective in dental caries, mouth ulcers, and sore throat. Similar results were obtained by several other studies.

เหงือกอักเสบ: Recently, Mahyari et al. (2016) studied and compared the efficacy of herbal mouthwash containing hydroalcoholic extracts of Z. officinale, Rosmarinus officinalis, and Calendula officinalis (5% v/w) with chlorhexidine. Moreover, the efficacy of polyherbal mouthwash was comparable to that of chlorhexidine mouthwash.Quite a few studies have been conducted so far to assess the role of ginger and its extracts in diseases of the oral cavity with positive results. PubMed-based survey of studies conducted in the last 10 years (2005-2016) using the keywords “properties of ginger,” “uses of ginger in dentistry,” and “ginger extract in oral diseases” yielded 15 favorable results which establishes the antibacterial, antifungal, antineoplastic, antioxidant, and anti-inflammatory property of ginger in dentistry.

แผลในช่องปากต่างๆ เช่น แผลร้อนใน: The anti-inflammatory action of ginger improves the clinical symptoms of RAS. Haghpanah et al. (2015) instituted mucoadhesives containing ginger extract in the treatment of RAS and a significant reduction in the intensity of pain was observed in the treatment group, based on the visual analog scale.

สภาวะปากแห้ง: Xerostomia is a common complaint often found among the geriatric population, affecting approximately 20% of the people. Chamani et al. (2011) suggested that the systemic ginger extract application can increase the rate of salivation. Increased salivation may be due to direct parasympathomimetics effect on the post-synaptic M3 receptors and also a possible repressive effect on presynaptic muscarinic autoreceptors.


อ้างอิง : 

+ Pharmacotherapeutic Properties of Ginger and its use in Diseases of the Oral Cavity, K. J. Rashmi1, Ritu Tiwari, Dental Connect, Bengaluru, Karnataka, India, Denty’s Oral Care and Cure, Bengaluru, Karnataka, India
- Kaempferia pandurata Roxb. inhibits Porphyromonas gingivalis supernatant-induced matrix metalloproteinase-9 expression via signal transduction in human oral epidermoid cells, Journal of ethnopharmacology 123(2):315-24 · July 2009
- Plants of the Genus Zingiber as Source of 3 Antimicrobial Agents: from Tradition to Pharmacy
- Antibacterial activity of zingiberaceae leaves Essential oils against streptococcus mutans And teeth-biofilm degradation, Article  in  International Journal of Pharma and Bio Sciences · October 2016 
- In Vitro Anti-Cariogenic Plaque Effects of Essential Oils Extracted from Culinary Herbs, Kornsit Wiwattanarattanabut, Suwan Choonharuangdej, and Theerathavaj Srithavaj, J Clin Diagn Res. 2017 Sep; 11(9): DC30–DC35.
- The Effect of Apple Cider Vinegar (ACV) as an Antifungal in a Diabetic Patient (Type II Diabetes ) with Intraoral Candidosis (A Case Report), Shaymaa M. Hassan* Lecturer in Department of Oral Medicine and Periodontology, Cairo University, Faculty of Dentistry. 11 Al Saraya, Al Manial, Giza Governorate, Egypt, International Journal of Dentistry and Oral Health

+ Interleukin - 17.. เป็นสารประเภทโปรตีนที่อยู่ในกลไกของระบบภูมิคุ้มกัน ..Bio-vanillin เป็น  IL-17 Inhibition สามารถลดทอนความรุนแรงของโรคเหงือกอักเสบ โรคปริทันต์ และแผลเรื้อรังในช่องปาก
​+ Downregulation of IL-23 and IL-17 expression.. ช่วยลดทอนการอักเสบและลดทอนการทำลายจากภาวะภูมิคุ้มกันที่มากเกิน ในโรคปริทันต์ชนิดก้าวร้าว ( Aggressive Periodontitis )
​+ inhibits MMP-9 expression.. ช่วยลดทอนการอักเสบและลดทอนการทำลายจากภาวะภูมิคุ้มกันที่มากเกิน ในโรคปริทันต์ชนิดก้าวร้าว ( Aggressive Periodontitis ) 
+ ช่วยลดปริมาณของ เอ็นไซม์ Myeloperoxidases (MPO) ที่ถูกหลั่งออกมามากในน้ำลายและน้ำเหลืองเหงือก ในคนที่เป็นโรคปริทันต์และเหงือกอักเสบ
+ ช่วยให้เกิดสมดุลระหว่างเชื้อก่อโรคปริทันต์กับการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของร่างกาย จากภาวะอักเสบเรื้อรังในโรคเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์
​+ เป็น Powerful Antioxidant and Redox Balance 
+ เป็นสารธรรมชาติ Perioceutic Agent
 

Note: 
Matrix metalloproteinase (MMP) สร้างจากเซลล์เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue cell) เป็นเอนไซม์ เมดิเอเตอร์ (enzyme mediator) ที่จัดอยู่ในกลุ่ม endopeptidase เช่น collagenase, gelatinase, membrane-bound proteinase จะมีอยู่มากในน้ำลายและน้ำเหลืองเหงือกในคนที่เป็นโรคปริทันต์หรือคนที่มีภาวะการอักเสบเรื้อรัง (chronic inflammation) ทำหน้าที่ย่อยโปรตีนที่เป็นส่วนสำคัญสำหรับ extracellular matrix บริเวณเร่งของเอนไซม์จะประกอบด้วยกรดอะมิโนกลูตามิก (glutamic acid) และฮิสทิดีน (histidine) และ Zn2+ ซึ่งเป็นตำแหน่งเข้าจับกับซับสเตรต (substrate) ตัวยับยั้งเอนไซม์นี้ที่สำคัญคือ tissue inhibitor of metalloproteinases (TIMPs) ซึ่งจะเข้าจับกับ MMP เพื่อรักษาดุลเมตาบอลิซึมของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue) ถ้าขาด TIMPs อาจทำให้เกิดพยาธิสภาพได้ ซึ่งในคนที่เป็นโรคเหงือกและโรคปริทันต์นั้น TIMPs ทำหน้าที่บกพร่อง ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องใช้สารธรรมชาติจากภายนอกเข้าไปช่วยเสริม เพื่อแบ่งเบาภาระในระบบภูมิคุ้มกันที่ทำงานมากเกิน จนกว่าร่างกายจะสามารถฟื้นตัวได้เองและสามารถปิดวงจรการตอบสนองในระบบภูมิคุ้มกันนี้ด้วยตัวเอง

อ้างอิง :

Neutrophil Functions in Periodontal Homeostasis, Ricarda Cortés-Vieyra, Carlos Rosales, and Eileen Uribe-Querol Departamento de Inmunolog´ıa, Instituto de Investigaciones Biomedicas, Universidad Nacional Aut ´ onoma de M ´ exico, ´ 04510 Ciudad de Mexico, DF, Mexico
- MOLECULAR BIOLOGY EFFECTS OF VANILLIN ON KERATINOCYTES

อาร์จินีน(Arginine) จัดเป็นกรดแอมิโนที่จำเป็น (Essential amino acid) ซึ่งเป็นพรีไบโอติกที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันฟันผุ (reviewed in Nascimento, 2018) อาร์จินีนสามารถถูกย่อยสลายได้โดยจุลินทรีย์ที่อยู่ในภาวะสมดุลแบบเกื้อกูล (เช่น S. sanguinis และ S. gordonii) เพื่อสร้างแอมโมเนียซึ่งเป็นโมเลกุลอัลคาไลน์ที่สามารถบัฟเฟอร์กรดอินทรีย์ในแผ่นคราบจุลินทรีย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปฏิกิริยาเหล่านี้เกิดขึ้นด้วยระบบ Arginine Deiminase System(ADS) นอกเหนือไปจากที่ทำให้ค่า pH เป็นอัลคาไลน์(สภาวะด่าง)ที่มากขึ้นแล้ว การสลายตัวของอาร์จินีนโดย ADS ยังสร้าง ATP(พลังงาน) ซึ่งสามารถให้พลังงานต่อเชื้อจุลินทรีย์สเตรปโท คอกไค ในระบบนิเวศน์แบบเกื้อกูล (Bowen et al., 2018) นอกจากนี้อาร์จินีนยังสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ชนิดก่อโรค(Pathogens) และช่วยลดความเครียดที่มีต่อเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค เช่น S. mutans ซึ่งมีผลในการช่วยป้องกันการเกิดฟันผุ(Chakraborty and Burne, 2017)

อ้างอิง :

Potential Uses of Arginine in Dentistry: 1. reviewed in Nascimento, 2018 , 2. Bowen et al., 2018 , 3. Chakraborty and Burne, 2017 , 4. Astvaldsdottir et al., 2016; Richards, 2017 , 5. Agnello et al., 2017; Huang et al., 2017; Zheng et al., 2017 , 6. Slomka et al., 2017, 2018

กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ( Omega Fatty Acids ) มีบทบาทในการป้องกันโรคที่หลากหลาย โดยไปมีผลต่อกลไกการทำงานของเอ็นไซม์ Matrix metalloproteinase (MMPs) จากการค้นพบล่าสุดแสดงให้เห็นว่า กรดไขมันโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 มีฤทธิ์ต้านการอักเสบในโรคปริทันต์ และยับยั้งสารประกอบที่เกี่ยวเนื่องกันโดยตรงต่อเอ็นไซม์ MMPs และยังสามารถยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์ โปรตีเอสชนิด MMP-2 และ MMP-9 ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่มีอยู่ในเนื้อฟันโดยเกี่ยวข้องกับโครงสร้างเนื้อฟันและการถูกทำลายเนื้อฟันโดยกรดแลคติกจากแบคทีเรีย S. mutans (Pathogen) ในภาวะที่สูญเสียสมดุลของจุลชีพในช่องปาก ( Disruption of Oral Microbiome ) ซึ่งกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนชนิดโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 เหล่านี้มีบทบาทสำคัญในฐานะเป็นสารยับยั้ง MMPs activity ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางใหม่ในการจัดการ หรือป้องกันภาวะโรคในช่องปากต่างๆ ที่ยังคงเป็นปัญหาสำคัญและยังคงมีอุบัติการณ์การเกิดที่มากในปัจจุบัน ซึ่งได้แก่ โรคเหงือกอักเสบ โรคปริทันต์ในความรุนแรงระดับต่างๆ ซึ่งในโรคปริทันต์​นั้น จากการศึกษาในปัจจุบันพบว่า มีระดับของเอ็นไซม์ MMP-2 และ MMP-9 ในปริมาณที่สูง​ ซึ่งถ้ายับยั้งเอ็นไซม์เหล่านี้ให้น้อยลง​ไปได้ ถือว่าเปนการจัดการที่ถูกจุด​และน่าจะเป็นผลดีต่อการบำบัดโรคปริทันต์ ( Periodontal Therapy ) ซึ่งหมายรวมไปถึงสามารถยับยั้งการทำลายเนื้อเยื่ออ่อนและกระดูกของอวัยวะปริทันต์ต่างๆ เช่น เหงือก ( Gingiva ) กระดูกเบ้าฟัน ( Alveolar Bone ) เป็นต้น รวมทั้งโรคฟันผุ และผลแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในทางอ้อมอื่นๆ อย่างเช่น กลิ่นปาก อันเกิดขึ้นจากความไม่สมดุลของจุลชีพในช่องปาก จนทำให้เกิด Volatile sulfur compounds (VSCs) ตัวอย่างเช่น H(2)S และ CH(3)SH จากแบคทีเรียชนิดก่อโรค (Pathogen) ที่มีมากเกินไป ในภาวะที่สูญเสียสมดุล ( Loss of Oral Microbiome Balance )

อ้างอิง :
+https://www.researchgate.net/publication/317873212_Omega3_and_Omega6_Fatty_Acids_Act_as_Inhibitors_of_the_Matrix_Metalloproteinase-2_and_Matrix_Metalloproteinase-9_Activity
+พยาธิวิทยาภูมิคุ้มกันของโรคปริทันต์ ( Immunopathology of Periodontal Disease ), บทบาทของสารตัวกลางจากภูมิคุ้มกันที่เป็นมาแต่กำเนิดในโรคปริทันต์, The Role of Mediators from Innate Immunity in Periodontal Disease, สุทธิชัย กฤษณะประกรกิจ, พัทนินทร์ มนตรีขจร และคณะ
+https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3945394/
+Omega 3 fatty acids and periodontitis in U.S. adults, Asghar Z. Naqvi, MD, MPH, MNS, Catherine Buettner, MD, MPH, Russell S. Phillips, MD, Roger B. Davis, ScD, and Kenneth J. Mukamal, MD, MPH, MA, 
+Effect of Omega 3 on Periodontitis in Postmenopausal Women
+Omega-3 Fatty Acids For Periodontal Health: An Update
October 1, 2014
by David W. Dodington, BSc (Hons), MSc; Peter C. Fritz, BSc, DDS, FRCD(C), PhD (Perio), Certified Specialist in Periodontics; Wendy E. Ward, B. Arts & Sci. (Hons), MSc, PhD.

 


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้