แนวคิดใหม่ (Update) ในการเกิดฟันผุ ....
จากสมมติฐานก่อนล่าสุด "Ecological Plaque Hypothesis (EPH), 1994 Philip D. Marsh" ว่าด้วยกลไกการเกิดฟันผุ... แทนที่จะบอกว่าแบคทีเรียตัวนี้ เป็นตัวสร้างกรดแล้วทำให้ฟันผุ ก็บอกว่า “มันไม่ได้ Specific ขนาดนั้น” มันเป็น “Non-specific Plaque Hypothesis” ซึ่งบอกว่า "ฟันผุเกิดขึ้นจากผลรวมของการเปลี่ยนแปลง ของพวกเชื้อจุลินทรีย์ที่อยู่ใน Plaque ทั้งหมด ....คือ ทั้งหมดใน Dental Biofilm ต่างๆ ( Sessile Microbial Communities ) ไม่ใช่เฉพาะ จาก Strep. Mutans ( Pathogen-เชื้อก่อโรค ) และบอกว่า.. ที่รู้อย่างนี้เพราะว่า จากการวิจัย ดูแล้ว บนพื้นผิวของทั้งฟันผุและฟันที่ไม่ผุ ก็จะเจอพวกเชื้อโรคพวกนี้เหมือนกันหมด เพียงแต่ปริมาณต่างกันเท่านั้นเอง ....ซึ่งในปัจจุบันมีสมมติฐานใหม่ที่พัฒนาต่อมาจากอันนี้ << ....ซึ่งเทียบเคียงให้เห็นภาพได้ประมาณว่า ถ้าในช่องปากของเรานั้น เปรียบได้กับผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ โดยจะมีสิ่งมีชีวิตคีย์สโตน (Keystone Species) คือเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีอิทธิพลต่อสภาวะแวดล้อมที่อาศัยอยู่อย่างมาก ซึ่งในที่นี้คือเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อโรค ( Pathogens ) ถึงแม้ว่าบางครั้งจำนวนประชากรของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นอาจจะต่ำก็ตาม หากถ้าสิ่งมีชีวิตคีย์สโตนหายไปจากระบบนิเวศน์หนึ่งๆ ระบบนิเวศน์นั้นจะเสียดุลและพังทลายลง
ยกตัวอย่างเช่น เสือ ซึ่งเป็นผู้ควบคุมจำนวนประชากรสัตว์กินพืช หากเสือลดน้อยลงหรือไม่มีเลย เป็นเหตุให้จำนวนประชากรสัตว์กินพืชเพิ่มขึ้น ความต้องการด้านอาหารก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย และจะเป็นผลกระทบลูกโซ่เช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนเกิดความล้มเหลวในระบบนิเวศน์ เป็นเหตุให้เกิดการพังทลายลงนั่นเอง
ดังนั้นการมุ่งฆ่าเชื้อแต่เพียงอย่างเดียว ..จึงไม่ได้ช่วยอะไร ..แถมยังจะเกิดโทษต่อเนื่องไปตามระบบอวัยวะต่างๆ
แล้วจากฟันไม่ผุ กลายเป็นผุ ได้อย่างไร? .. ก็คือ สิ่งแวดล้อมในบริเวณนั้นๆเปลี่ยนไป มันมีหลายๆปัจจัยอื่นเข้ามามีผลกระทบ คือ ความถี่ของการกินแป้งและน้ำตาล (Processed Sugar) หรืออาหารดัดแปลงต่างๆที่มีมากมายในปัจจุบัน ที่มีสารยืดอายุ สารเคมีกันเสีย ซึ่งจะไปกระทบต่อสมดุลจุลินทรีย์ในช่องปาก ..อีกทั้งสารเคมีก่อฟอง ที่มีผลไปกระทบต่อคุณสมบัติของชั้นเยื่อเมือกในช่องปาก โดยเฉพาะต่อชั้นมิวซิน (Mucin Layer of Oral Mucosa) ซึ่งจะไปกระทบโดยตรงต่อการทำงานของโปรตีนต้านจุลินทรีย์ (Anti-microbial Peptides-AMPs) ที่มีสะสมอยู่มากในชั้นนี้ อีกอันคือ คุณภาพและปริมาณของน้ำลาย ก้อจะถูกรบกวนไปด้วย
Ref:
- Historical and contemporary hypotheses on the development of oral diseases: are we there yet?,
Department of Preventive Dentistry, Academic Centre for Dentistry Amsterdam (ACTA), University of Amsterdam and Free University Amsterdam, Amsterdam, Netherlands
Philips Research, Eindhoven, Netherlands
- Periodontal disease and gingivitis, https://mpkb.org/home/diseases/periodontal
- เปปไทด์ต้านจุลชีพในสัตว์เลื้อยคลาน, รศ. ดร. สมปอง คล้ายหนองสรวง, มหาวิทยาลัยขอนแก่น
+ Saliva and oral health an essential overview for the health professional
fourth edition, Michael Edgar, Colin Dawes & Denis O’Mullane
+ Fascinating facts about saliva, August 9, 2011 By Linda Douglas, RDH
+ Saliva between normal and pathological. Important factors in determining systemic and oral health
Gabriela Iorgulescu, J Med Life. 2009 Jul-Sep; 2(3): 303–307.
31 ม.ค. 2565
วิธีแก้ฟันผุ วิธีรักษาฟันผุ อย่างยั่งยืน ..จากต้นตอของปัญหา (จากจุดเริ่มต้นของการเกิดฟันผุ)
11 ก.พ. 2563
Tannic acid–iron(III) [TA/Fe3+] เป็นสารจากธรรมชาติ ที่ช่วยปิดผนึกท่อเนื้อฟันที่เปิด(ในรายที่มีอาการเสียวฟัน) ที่มีความเสถียร และสามารถปิดผนึกท่อเนื้อฟันที่เปิดได้ภายในระยะเวลา 4 นาที อีกทั้งยังช่วยเพิ่มการดึงแร่ธาตุแคลเซี่ยมกลับคืนเข้าสู่ตัวฟันได้รวดเร็วยิ่งขึ้น และตัวผลึกเหล่านี้ยังสามารถทนแรงอันเนื่องมาจากการแปรงฟันได้ถึง 1000 strokes เนื่องจากมีความเสถียรและมีการฟอร์มแรงยึดติดที่แน่นหนา ยิ่งไปกว่านั้น Tannic acid–iron(III) [TA/Fe3+] ยังมีความปลอดภัยและสามารถเข้ากันได้ดีกับเซลล์เนื้อเยื่อปริทันต์ ดังนั้นสารธรรมชาติเหล่านี้จึงน่าสนใจอย่างยิ่ง ที่จะนำมาพัฒนาและต่อยอด ในการช่วยลดอาการเสียวฟันและช่วยป้องกันฟันผุได้อย่างเป็นรูปธรรมในอนาคต
23 ม.ค. 2563
น้ำผึ้งแท้ที่ไม่ผ่านการเติมแต่ง จะสามารถยับยั้งการสูญเสียแร่ธาตุ และมีคุณสมบัติในการป้องกันฟันผุเมื่อเทียบกับน้ำตาลชนิดต่างๆ อย่าง กลูโคส ฟรุคโตส และซูโครส อีกทั้งยังช่วยลดจำนวนเชื้อแบคทีเรียที่เป็นตัวการสำคัญในการก่อให้เกิดฟันผุได้ เช่น Strep. Mutans, Lactobacillus Salivarius และ Bifidobacterium Dentium